เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข


เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข
ผู้แต่ง: คินเลย์ ดอร์จิ
ผู้แปล: สดใส ขันติวรพงศ์



บทนำตอนหนึ่งในหนังสือ

“ภูฐานจะไม่มีวันเป็นมหาอำนาจทางการทหาร
หรือเป็นพลังทางเศรษฐกิจ พลังของภูฐานอยู่ที่หลักศีลธรรมซึ่ง
ทำให้ราชอาณาจักรเล็กๆ แห่งนี้ เป็นตัวแทนของอุดมคติใหญ่หลวง นั่นคือ ความสุขมวลรวมประชาชาติ

การกล้าที่จะเป็นสิ่งที่แตกต่าง และนำเสนอเป้าหมายอันสูงส่ง
เพื่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติให้โลกได้ประจักษ์
ภูฐานจึงต้องทำให้สิ่งนี้เป็นจริงที่บ้าน

ดังที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เกซาร์ นัมเกล วังชุก
ได้ทรงมีพระราชดำรัสแก่ประชาชนในวันที่เสด็จเถลิงราชสมบัติเมื่อปี 2006 ว่า ความล้มเหลวไม่ใช่ทางเลือก”




ผลงานเล่มนี้เป็นการรวบรวมเรื่องสั้น บันทึกความทรงจำ และความเรียงจากประสบการณ์ของดอร์จิ
จำนวน 13 เรื่อง ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย สดใส ขันติวรพงศ์
ในชื่อ เรื่องราวในดินแดนแห่งความสุข สำนักพิมพ์สวนเงินมีมาพิมพ์ภาษาไทยครั้งแรกเมื่อปี 2552
หนังสืออ่านเพลินไม่อยากวาง มีความซาบซึ้ง แยบยลในการร้อยเรียงเรื่องราว ง่ายและกินใจ
รู้สึกผูกพันกับตัวละครหลายคนในเรื่อง ตั้งแต่เรื่องราวในอดีตจนถึงเรื่องราวในปัจจุบัน


วิธีการเล่าเรื่องและสาระของเรื่องที่เล่า โดยการวางเนื้อหาและเลือกเรื่องราวจากอดีตถึงปัจจุบันของชีวิต
ผู้คน สังคม หมู่บ้านของภูฐาน สาส์นของหนังสือที่แม้ง่ายแต่มีพลังของเรื่องราว
บวกกับความสามารถในการถ่ายทอดและความสวยงามในการเล่าเรื่อง
ช่วยตอกย้ำจุดยืนของสำนักพิมพ์ที่ต้องการนำเสนอเรื่องการพัฒนาที่มาพร้อมกับความทันสมัย
และผลกระทบที่เกิดขึ้น หลายคนบอกว่าเราไม่อาจปฏิเสธการเปลี่ยนแปล
แต่เราก็อยากให้กำลังใจกับราชอาณาจักรเล็กๆ แห่งนี้ที่อยู่ขนาบข้างด้วยประเทศมหาอำนาจ
อย่างจีนและอินเดียให้ได้มีโอกาสคัดกรองและเลือกชะตากรรมของประเทศอย่างอิสระ
(เราทราบดีว่าจีนเข้าไปในทิเบตและยัดเยียดความก้าวหน้าที่จีนได้ประโยชน์ โดยอ้างว่าทิเบตล้าหลัง)
ภูฐานตระหนักว่าโลกาภิวัตน์เกิดขึ้นในทุกหนทุกแห่ง และอาจจะไม่สามารถปฏิเสธสิ่งนี้ได้
แต่สังคมภูฐานจะต้องมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนถกเถียงหาความเป็นไปได้ของเขาเอง
เฉกเช่นชนบทและชุมชนต่างๆ ในประเทศไทย
และราชาธิบดีของภูฐานก็ตอบผู้เชี่ยวชาญ World Bank
เมื่อมาแนะนำให้ประเทศภูฐานที่ได้ชื่อว่าด้อยพัฒนาเร่งเปิดประเทศและพัฒนาในแบบตะวันตก
ราชาธิบดีภูฐานจึงตรัสว่า "ความสุขมวลรวมประชาชาติ (จีเอ็นเอช) สำคัญกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)"