รอสฮัลด์ : เฮอร์มัน เฮสเส แปลโดยสดใส





รอสฮัลด์ : เฮอร์มัน เฮสเส แปลโดยสดใส

นวนิยายเรื่องที่สี่ของเฮสเสได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1914
สามปีหลังจากที่เขาเดินทางท่องตะวันออกเป็นครั้งแรก
เรื่องราวของจิตรกรโยฮัน เวรากุธผู้มีชื่อเสียงระดับโลก
ในเรื่องการค้นพบตัวตนของเขา
โดยทั่วไปแล้วชีวิตของเขาทั้งฐานะและความมั่งคั่ง เขาน่าจะจัดได้ว่า
เป็นบุคคลผู้มีความสุขมากที่สุดคนหนึ่ง
แต่แท้ที่จริงเขาติดจมอยู่กับชีวิตการแต่งงานที่ว่างเปล่าและเรียกได้ว่าเปราะบาง
จนเกือบจะถูกทำลายภายใต้รั้วของคฤหาสน์นาม 'รอสฮันด์ '

ทั้งเขาและภรรยารูปงามอยู่ภายใต้รั้วเดียวกัน อาณาเขตเดียวกัน
แต่กลับเหมือนอยู่กันคนละโลก จิตใจนั้นแยกห่างกันอย่างสิ้นเชิง
มีเพียงบุตรชายคนเล็กเพียงคนเดียวเท่านั้น
ที่เหมือนจะเกี่ยวร้อยรัดเขาทั้งคู่ไว้ด้วยกัน


(มุมมองของดอกไม้ผ่านสายตาของปิแอร์น้อย)

"คุณแม่ครับดอกไม้นี้ชื่ออะไรครับ" ปิแอร์ถามแสงแดดเต้นระเริง หยอกเอินเส้นผมของเขา
ขาผอมๆยืนเปลือยอาบแดดอยู่กลางแสงไสว พอเด็กชายก้ม เสื้อตัวหลวมเผยให้เห็นต้นคอขาวใต้ลำคอคล้ำแดด
"ดอกคาร์เนชั่นจ้ะ" แม่ตอบ
"ฮื่อ ชื่อนี้ลูกทราบแล้ว" ปิแอร์แย้ง
"แต่ลูกอยากรู้ว่าผึ้งเรียกดอกไม้นี้อย่างไร ภาษาผึ้งต้องมีชื่อดอกไม้นี้ด้วยแน่ๆเลย!"

"มีซีจ้ะแต่เราไม่ทราบผึ้งเท่านั้นแหละที่จะรู้" บางทีมันอาจจะเรียกดอกน้ำหวานก็ได้นะ"
ปิแอร์คิดทบทวน
"ไม่ได้หรอกครับแม่" เขาตัดสินใจในที่สุด
"ดอกโคลเวอร์ ดอกนาสเตเตียม ก็มีน้ำหวานมากเหมือนกันดอกไม้ทุกอย่างจะมีชื่อเดียวกันไม่ได้หรอก"

(เล่มเดียวกัน ชื่อของดอกไม้)

"ใช่นายอาจมอบความรัก ความอ่อนโยนให้เขา ทั้งหมดนั่นเป็นแค่ความรู้สึก...
ซึ่งเด็กทั่วๆไปต้องการน้อยกว่าที่พวกผู้ใหญ่คิดกัน อีกอย่างหนึ่งนะลูกนายเติบโต
ในสภาพที่พ่อแม่ต่างแปลกหน้าต่อกัน อิจฉากันเพราะเขาเป็นเหตุ
เขาไม่ได้เรียนจากตัวอย่างที่ดีในครอบครัวสมบูรณ์มีความสุข
เขาจะเป็นเด็กแก่แดดโตขึ้นมาอย่างผิดที่ผิดทาง - - แล้ววันหนึ่งขอโทษเถอะ
ถึงไงเขาก็ต้องเลือกระหว่างนายกับแม่ของเขา นายไม่นึกถึงเรื่องนี้เลยรึไง"

(เล่มเดียวกัน)

จริงสินะการทนอยู่ - - นี่มันดีต่อความรู้สึกของลูกจริงๆ หรือ ?

(ความนัยของจิตรกร)

ถ้าพ่อจะต้องบอกลูกว่าทำไมพ่อต้องเป็นจิตรกร 
ทำไมพ่อจึงต้องป้ายสีลงบนผ้าใบ
พ่อก็จะพูดว่า พ่อวาดเพราะพ่อไม่มีหางจะแกว่ง"
"ง่ายมาก หมาแมวสัตว์ฉลาดทั้งหลายล้วนมีหาง แล้วเจ้าหางพวกนี้แหละ
มันมีรายละเอียดล้ำค่าเป็นพันๆอย่าง ทำให้สัตว์พวกนั้นมีภาษา
สำแดงลวดลายได้น่าอัศจรรย์ มันไม่แค่บอกความคิด ความรู้สึกสุขทุกข์เท่านั้น 
แต่จะบอกทุกอารมณ์ ทุกการเคลื่อนไหวในตัวมัน 
บอกการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายของอารมณ์ได้อย่างไม่จำกัด 
ในเมื่อคนเราไม่มีหาง  คนที่กระฉับกระเฉงตื่นตัวในหมู่เรา
ก็ต้องหารูปแบบการแสดงออก 
- - เราเลยคิดสร้างพู่กันเปียโนและไวโอลิน"
(จากบทสนทนาของพ่อจิตรกรและลูกชายวัยหนุ่ม ท่ามกลางความขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง )